เลือกภาษา

X
อำเภอบ้านผือ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของจังหวัดอุดรธานี ห่างจากจังหวัดอุดรธานีตามเส้นทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2021 ระยะทาง 55 กิโลเมตร (เส้นทางสายอุดร-บ้านผือ-น้ำโสม) มีพื้นที่ทั้งสิ้น 991 ตารางกิโลเมตร หรือ 619,375 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ประชากร
มีจำนวนประชากรทั้งหมด 109,769 คน มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 34,815 ครัวเรือน
โดยแยกออกได้ดังนี้
ลำดับที่ ตำบล ครัวเรือน ชาย หญิง รวม
1 จำปาโมง 2859 5152 5193 10345
2 หายโศก 3695 5656 5671 11327
3 เมืองพาน 2421 4337 4332 8669
4 เขือน้ำ 2890 4780 4873 9653
5 โนนทอง 2882 5489 5425 10914
6 บ้านผือ 5564 6195 6364 12559
7 กลางใหญ่ 2885 4385 4458 8843
8 หนองหัวคู 2197 3798 3746 7544
9 ข้าวสาร 1794 2861 2875 5736
10 คำบง 2317 3525 3562 7087
11 คำด้วง 2370 3539 3369 6908
12 หนองแวง 1934 3496 3557 7053
13 บ้านค้อ 1007 1599 1532 3131
รวม 34815 ครัวเรือน ชาย 54812 คน หญิง 54,957 คน รวมทั้งสิ้น 109,769 คน
ข้อมูลวันที่ 15 มีนาคม 2564
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอบ้านผือแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 13 ตำบล 164 หมู่บ้าน
1. |
(Ban Phue) |
14 หมู่บ้าน |
8. |
(Klang Yai) |
13 หมู่บ้าน |
||||||||||||
2. |
(Hai Sok) |
17 หมู่บ้าน |
9. |
เมืองพาน |
(Mueang Phan) |
16 หมู่บ้าน |
|||||||||||
3. |
(Khuea Nam) |
15 หมู่บ้าน |
10. |
(Kham Duang) |
10 หมู่บ้าน |
||||||||||||
4. |
(Kham Bong) |
10 หมู่บ้าน |
11. |
(Nong Hua Khu) |
11 หมู่บ้าน |
||||||||||||
5. |
(Non Thong) |
11 หมู่บ้าน |
12. |
(Ban Kho) |
6 หมู่บ้าน |
||||||||||||
6. |
(Khao San) |
10 หมู่บ้าน |
13. |
(Nong Waeng) |
10 หมู่บ้าน |
||||||||||||
7. |
(Champa Mong) |
17 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอบ้านผือประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่
ส่วนราชการ/หน่วยงาน ในพื้นที่อำเภอ
อำเภอบ้านผือ มีส่วนราชการ หน่วยงานตั้งอยู่ในพื้นที่เป็นจำนวนมากถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการของอำเภอบ้านผือ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและบริการประชาชน ดังนี้
ส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐ จำนวน 27 แห่ง
1. ที่ทำการปกครองอำเภอบ้านผือ
2. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านผือ
3. สัสดีอำเภอบ้านผือ
4. สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านผือ
5. สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านผือ
6. สำนักงานปศุสัตว์อำเภอบ้านผือ
7. สำนักงานท้องถิ่นอำเภอบ้านผือ
8. สำนักงาน.สรรพสามิตพื้นที่ สาขาอำเภอบ้านผือ
9. สำนักงานสรรพากรพื้นที่ สาขาอำเภอบ้านผือ
10. สถานีตำรวจภูธรบ้านผือ
11. สถานีตำรวจภูธรบ้านเทื่อม
12. สถานีตำรวจภูธรกลางใหญ่
13. สำนักงานที่ดินจังหวัดอุดรธานี สาขาบ้านผือ
14. โรงพยาบาลอำเภอบ้านผือ
15. วิทยาลัยการอาชีพบ้านผือ
16. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4
17. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการอุดรธานี
18. โรงเรียนอนุบาลบ้านผือ
19. โรงเรียนเทคโนโลยีภูมิบัณฑิต
20. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านผือ
21. อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
22. โครงการพัฒนาลุ่มน้ำทอน
23. สำนักงานสหกรณ์การเกษตร อำเภอบ้านผือ
24. ชมรมไทยพวนอำเภอบ้านผือ
25. สำนักงานวนอุทยานภูพระบาทบัวบก
26. สำนักงานขนส่งจังหวัดอุดรธานี สาขาบ้านผือ
หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 8 แห่ง
1. บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาบ้านผือ
2. สำนักงานการประปาส่วนภูมิภาค สาขาบ้านผือ
3. สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอบ้านผือ
4. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาบ้านผือ
5. สหกรณ์การเกษตรอำเภอบ้านผือ
6. ธนาคารออมสิน สาขาบ้านผือ
7. ธนาคารกรุงไทย สาขาบ้านผือ
8. ศูนย์บริการลูกค้า ทีโอที
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นที่ราบทิศตะวันตกแนวเทือกเขาภูพานจากเหนือลงใต้ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย และดินเหนียวปนทรายภูเขาเป็นเทือกเขายาวจากทิศตะวันตกไปจนทิศใต้ของพื้นที่อำเภอบ้านผือ มีลำห้วยสำคัญ 5 สาย คือ ลำห้วยโมง ลำห้วยซีด ลำห้วยแจ้ง ลำห้วยธง และลำห้วยใหญ่
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะทางภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมมี 3 ฤดู คือ
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม มกราคม
การประกอบอาชีพ
ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรม มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งสิ้น 431,344 ไร่ ครัวเรือนเกษตรกร จำนวน 17,900 ครอบครัว 85,258 คน สภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ มีดังนี้
-ข้าว 206,109 ไร่
-อ้อย 81,025 ไร่
-ยางพารา 46,775 ไร่
-มันสำปะหลัง 25,460 ไร่
-อื่น ๆ (ไม้ดอก,พืชผัก,ไม้ผล,ไม้ยืนต้น) 71,975 ไร่
มีเกษตรกร ทำนา คิดเป็นร้อยละ 68 % ทำไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.3 % ทำสวน คิดเป็นร้อยละ 10.55 % อื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 14.12 %
การศึกษา
อำเภอบ้านผือได้จักการศึกษาในหลายระดับ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ เมื่อจบการศึกษาภาคบังคับจะออกมาอยู่กับบ้านช่วยผู้ปกครองทำงานบ้าน ในภาคการเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่และบางส่วน ได้เข้าไปศึกษาต่อในตัวจังหวัดและเมื่อถึงฤดูแล้งหรือว่างงานมีการเคลื่อนย้ายแรงงานไปหางานทำที่อื่นๆส่วนมากเป็นงานภาคอุตสาหกรรม
โดยสามารถแยกสถานที่ศึกษาได้ดังนี้
1. สังกัดกรมศาสนา มีจำนวน 1 โรงเรียน
2. สังกัดคณะกรมการศึกษาเอกชน มีจำนวน 3 โรงเรียน
3. สังกัดกรมอาชีวศึกษา มีจำนวน 1 โรงเรียน
4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตที่ 4 จังหวัดอุดรธานี (อำเภอบ้านผือ) มีจำนวน 1 แห่ง
5. โรงเรียนระดับประถมศึกษา มีจำนวน 56 โรงเรียน
6. โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีจำนวน 4 โรงเรียน
7. โรงเรียนขยายโอกาส มีจำนวน 17 โรงเรียน
ระบบการศึกษานอกโรงเรียน มีดังนี้
1. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอบ้านผือ มีจำนวน 1 แห่ง
2. ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน มีจำนวน 26 ศูนย์
3. ห้องสมุดประชาชน มีจำนวน 1 แห่ง
4. ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน มีจำนวน 61 แห่ง
การศึกษาอื่น ๆ
1. โรงเรียนปริยัติแผนธรรมบาลี มีจำนวน 1 แห่ง
2. ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มีจำนวน 14 แห่ง
3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล 13 ตำบล/ เทศบาล
ศาสนา ศาสนบุคคล และวัฒนธรรม
การศาสนาอำเภอบ้านผือประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธประมาณร้อยละ 99 ศาสนาอื่นๆ ร้อยละ 1
ศาสนสถาน
มีวัด จำนวน 138 แห่ง
วัดร้าง จำนวน 24 แห่ง
ที่พักสงฆ์ จำนวน 56 แห่ง
ศาลเจ้า จำนวน 1 แห่ง
โบสถ์คริสต์ จำนวน 4 แห่ง
ศาสนบุคคล
บุคคลที่เป็นผู้นำทางจิตใจและสืบทอดพระพุทธศาสนาในอำเภอบ้านผือ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่สำคัญ ประกอบด้วย
1. พระภาวนาวิสุธาจารย์ (หลวงพ่อทองใบ ปภัสฺสโร)วัดนาหลวง(อภิญญาเทสิธรรม) บ้านนาหลวง ตำบลคำด้วง
2. หลวงปู่คลาด ครุธัมโม วัดป่าบ้านใหม่ ตำบลเมืองพาน
วัฒนธรรม
ไทพวนบ้านผือ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว ที่มีความสำนึกในเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของตนสูง ทั้งสำนึกในความเป็นพวน สำนึกในประวัติศาสตร์ชนชาติ ตลอดจนสำนึกในภาษาพวน วิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรมประเพณีของ ไทพวน อำเภอบ้านผือ มีฮีตคอง เช่นเดียวกับชาติพันธุ์ไท-ลาวอื่น แต่มีข้อปฏิบัติและความเชื่อแตกต่างกันออกไป สังคมไทพวนบ้านผือเป็นสังคมที่นับถือผี มีพิธีกรรมความเชื่อที่ยังคงปฏิบัติสืบทอดกันมา แม้ปัจจุบันไทพวนเหล่านี้จะนับถือพุทธศาสนาแล้วก็ตามแต่ยังเป็นการนับถือผีคู่ไปกับนับถือพระ งานศึกษานี้มุ่งเน้นด้านประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อและความสำนึกในชาติพันธุ์ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ซึ่งมีความสำคัญและควรตระหนักถึงการรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่อย่างมั่นคงและแข็งแรงสืบไป
กลุ่มชาติพันธุ์ของชาวอำเภอบ้านผือ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. ชาวไทพวน สันนิษฐานว่าอพยพมาจากประเทศลาว ตั้งแต่ราวปี พ.ศ.2322 สมัยที่มีการต่อสู้กับอาณาจักรล้านช้าง เวียงจันทร์ ทั้งที่อพยพและถูกเกณฑ์มาบางส่วนตั้งถิ่นฐานอยู่เขตอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
2. ชาวไทเลย อพยพมาจากจังหวัดเลย เพื่อทำมาหากินและตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อำเภอบ้านผือ
3. ชาวไทลาว อพยพมาจากประเทศลาวและทางตอนใต้ของจีน เป็นคนพื้นเพที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอ บ้านผือเดิม รูปแบบการตั้งถิ่นฐาน จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มชุมชน หมู่บ้าน และกระจายอยู่ตามที่ทำมาหากินคือ ตามสวน ไร่ นา วิถีชีวิตเดิมก็เป็นครอบครัวใหญ่ อยู่รวมกันทั้งปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ เพื่อสะดวกในการใช้แรงงานทำมาหากินช่วยกัน แต่ในปัจจุบันเปลี่ยนเป็นครอบครัวขนาดเล็ก มีพ่อ แม่ ลูก เท่านั้น เมื่อมีการแต่งงานก็มักจะแยกบ้านออกไปตั้งครอบครัวใหม่ จากเดิมที่เป็นสังคมเกษตรกรรม เป็นครอบครัวใหญ่ ต่อมาก็เริ่มเป็นสังคมอุตสาหกรรมบางส่วน ค้าขาย รับจ้าง รับราชการ ฯ
ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรม อิทธิพลทางความคิด (ค่านิยม)
1. ประเพณีทำบุญปีใหม่ ตรงกับวันที่ 1 มกราคม ของทุกปีจะทำบุญตักบาตรกันในหมู่บ้าน เพื่อเป็นสิริมงคลกับตัวเองและครอบครัว
2. ประเพณีการทำบุญข้าวจี่ จะจัดขึ้นช่วงเดือน 3 (กุมภาพันธ์) จะมีการทำข้าวจี่ ข้าวโป่งมาทำบุญ ที่วัดเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญู
3. การทำบุญมหาชาติ (บุญพระเวส หรือพระเวสสันดรชาดก) เป็นการทำบุญเกี่ยวกับประวัติพระพุทธเจ้า พระพุทธศาสนา จะมีการเทศมหาชาติตลอดทั้งวันเพื่อเทศนาสั่งสอนประชาชน จัดในเดือน 4 ตามปฏิทินจันทรคติ
4. ประเพณีสงกรานต์ หรือบุญเดือน 5 ซึ่งตรงกับวันที่ 13 -15 เมษายน ของทุกปี หรือเรียกอีกอย่างว่าปีใหม่ไทย จะมีการทำบุญตักบาตร ปล่อยนก ปล่อยปลา มีการละเล่นต่าง ๆ ตลอดทั้งมีการรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้สูงอายุ
5. ประเพณีบุญบั้งไฟ จะจัดขึ้นบางหมู่บ้านเท่านั้นเพื่อทำพิธีขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล จะจัดขึ้นระหว่างเดือน 6 – 7 เท่านั้น ก่อนฤดูฝน
6. ประเพณีเข้าพรรษา จะทำบุญตักบาตรถวายผ้าอาบน้ำฝนและเทียนพรรษา แก่พระภิกษุและสามเณรที่จำพรรษาอยู่ในวัด จัดงานในเดือน 8
7. ประเพณีทำบุญข้าวประดับดิน ตรงกับเดือน 9 ของทุกปี โดยจะเตรียมอาหารไปถวายพระเพื่ออุทิศส่วนบุญให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว และผีไม่มีญาติ เปรต
8. ประเพณีทำบุญสารทไทย (บุญข้าวสาก) จัดทำบุญในเดือน 10 ของทุกปี โดยนำอาหารและข้าวกระยาสารท ไปทำบุญที่วัดเพื่ออุทิศส่วนบุญให้กับญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว
9. ประเพณีการทอดเทียน จะจัดขึ้นในระหว่างการเข้าพรรษา โดยการนำต้นเทียนและจตุปัจจัยไปถวายพระและมีการสวดมนต์ ท่องกลอนเป็นทำนองสรภัญญะ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
10. ประเพณีออกพรรษา ตรงกับเดือน 11 ของทุกปี มีการทำบุญตักบาตร ปล่อยโคมไฟ
จุดตะไล ดอกไม้ไฟ ประทัด
11. ประเพณีทำบุญทอดกฐิน จัดขึ้นภายใน 1 เดือนหลังจากออกพรรษา ระหว่าง แรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ถือว่าเป็นประเพณีที่ทำบุญได้อานิสงค์มาก
12. ประเพณีลอยกระทง ตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 เพื่อเป็นการขอขมา และบวงสรวงเจ้าแม่คงคา และเป็นการปล่อยความทุกข์ไปตามลำน้ำ
ศาสนา สิ่งยึดเหนี่ยว และข้อห้ามต่าง ๆ
ค่านิยมและความเชื่อของประชากรในอำเภอบ้านผือ ส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนาประมาณ 99% ศาสนาอื่น ๆ อีกประมาณ 1% ในแต่ละหมู่บ้านจะมีวัดหรือสำนักสงฆ์อยู่ 1 – 2 แห่ง วัดมีทั้งหมด 138 แห่ง โบสถ์คริสต์ มี 4 แห่ง ศาลเจ้า มี 1 แห่ง
ข้อห้ามคือ ไม่ให้ใช้แรงงานสัตว์ในวันพระ ห้ามไถนา ลากเกวียน เพราะแต่ก่อนการขนย้ายหรือทำการเกษตรต้องใช้แรงงานสัตว์ พอถึงวันพระให้หยุดทำงานถือว่าให้สัตว์เลี้ยงได้พักเป็นการแสดงความเมตตาต่อสัตว์เลี้ยง ประชาชนก็ได้หยุดพักไปทำบุญ ไปปฏิบัติธรรม ทำให้จิตใจอ่อนโยน อยู่ร่วมกันแบบสังคมญาติ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน สังคมก็สงบสุข แต่ปัจจุบันนี้วิถีชีวิตเปลี่ยนไป สังคมมีแต่ความรีบเร่ง แข่งขัน ได้เปลี่ยนไปใช้รถไถนาแทนแรงงานสัตว์แล้ว
ด้านเศรษฐกิจ
OTOP อำเภอบ้านผือ ประกอบด้วย
ข้อมูลผลิตภัณฑ์ OTOP
ที่ ตำบล รายการสินค้า OTOP
1. บ้านผือ ข้าวแต๋นน้ำแตงโม,ข้าวหอมมะลิ
2. กลางใหญ่ เนื้อแดดเดียว,หมูแดดเดียว,ข้าวเม่า
3. คำบง เครื่องดื่มเพชรรังนกแท้,น้ำเสาวรส
4. หายโศก กางเกงผ้ายืดสตรี,ครีมขัดหน้าผสมรังไหม,สบู่รังไหม,ไหมขัดฟัน
5. เขือน้ำ ผ้าฝ้ายมัดหมี่
6. หนองหัวคู ข้าวแต๋นน้ำแตงโม
7. โนนทอง กล่องใส่กระดาษทิชชูจากเสื่อกก
8. จำปาโมง หมูปิ้งนมสด
9. เมืองพาน ผ้ามัดหมี่
10. คำด้วง แจกันไม้
11. ข้าวสาร สื่อกกแปรรูป
12. หนองแวง ผ้าพันคอย้อมสีธรรมชาติ,กระเป๋าสตรี,เสื้อสตรี, ผ้าคลุมไหล่ย้อมสีธรรมชาติ
13. บ้านค้อ ปลาร้าทรงเครื่อง , แจ่วบอง
องค์กรสตรี
1. คณะกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอบ้านผือ (กพสอ.) จำนวน 1 คณะ 49 คน
2. คณะกรรมการพัฒนาสตรีตำบล (กพสต.) จำนวน 13 คณะ 13 ตำบล
3. คณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน (กพสม.) จำนวน 160 คณะ ๆละ 15 คน
กองทุนพัฒนาสตรีอำเภอบ้านผือ ประกอบด้วย สมาชิกสตรีที่สมัครเป็นสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จำนวน 37,523 คน สมัครเพิ่ม 4,537 คน รวมทั้งสิ้น 42,060 คน
ด้านการท่องเที่ยว
มีแหล่งท่องเที่ยวหลายประเภท ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีแหล่งท่องเที่ยวศิลปวัฒธรรม ประเพณี และศาสนสถาน แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและศาสนสถานที่สำคัญ
1. อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
2. พระพุทธบาทบัวบก
3. พระพุทธบาทบัวบาน
4. พระมหาธาตุเจดีย์ วัดป่าบ้านค้อ ตำบลเขือน้ำ
5. น้ำตกตาดน้ำพุ
6. วัดโพธิ์ชัยศรี (วัดหลวงพ่อนาค)
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พื้นที่ป่าไม้
ป่าไม้ เขตพื้นที่อำเภอบ้านผือ เป็นพื้นที่ป่าไม้ธรรมชาติ กระจายอยู่ตามหมู่บ้านตำบล ตามสภาพพื้นที่ป่าไม้เขตอนุรักษ์ ป่าสงวน บางพื้นที่ของตำบล พบบริเวณเทือกเขาภูพาน ในตำบลเมืองพาน, กลางใหญ่คำด้วง, จำปาโมง, หนองแวง, บางหมู่บ้านที่เชิงเขา ปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้ได้เริ่มเสื่อมสภาพลงเนื่องจากถูกตัด ทำลาย และ ไฟป่า บางหมู่บ้านมีพื้นที่ป่าชุมชน ที่มีการอนุรักษ์ไว้ส่วนใหญ่เป็นที่สาธารณะของหมู่บ้าน และบริเวณวัด, โรงเรียนบางแห่ง ป่าไม้ที่พบจะอยู่ตามบริเวณป่าธรรมชาติ, ป่าตามไร่นาของราษฎร, ป่าช้า
อุณหภูมิ
ลักษณะทั่วไปจะมีอากาศแห้งแล้งในฤดูร้อนและในฤดูฝนจะมีฝนตกชุกเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากร่องมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มักเกิดความกดอากาศต่ำและพายุดีเปรสชั่นพัดผ่าน ในช่วงฤดูฝน ซึ่งทำให้เกิดภัยธรรมชาตินาข้าวในพื้นที่ราบลุ่มเสียหายเป็นประจำทุกปีสำหรับฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวจัดและแห้งแล้งซึ่งมีรายละเอียดฤดูกาล ดังนี้
ฤดูร้อน จะมีอากาศร้อนและแห้งแล้งมากในเดือนมีนาคม – พฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 34- 41 องศาเซลเซียส ในเดือนเมษายน ของทุกปี
ฤดูฝน จะมีฝนตกมากในเดือน มิถุนายน – กันยายน ซึ่งการกระจายของฝนจะตกเป็นช่วงๆ ซึ่งมีปริมาณที่ตก/วัน ที่สูง จะมีวันที่ฝนตกต่อปีประมาณ 124 – 128 วัน ปริมาณน้ำฝนที่ตก 1,120 มม. ต่อปี
ฤดูหนาว จะมีอากาศหนาวเย็นและมีลมกรรโชกแรงในเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือน มกราคม อุณหภูมิ
แหล่งน้ำ/ลำห้วยตามธรรมชาติ
ประเภทลำห้วยตามธรรมชาติในตำบล อำเภอบ้านผือ ที่สำคัญคือ ลำห้วยน้ำโมง, ลำห้วยน้ำฟ้า, ลำห้วยซีด, ลำห้วยน้ำพาน, ลำห้วยเชียว และแหล่งน้ำธรรมชาติที่กระจายอยู่ในหมู่บ้าน/ตำบลต่าง ๆ ดังนี้
แหล่งน้ำในเขตหมู่บ้าน/ตำบลจำปาโมง
- ลำห้วยน้ำโมง ในหมู่ที่ 1,2,3,5,9,12
- ลำห้วยน้ำฟ้า ในหมู่ที่ 1,8
-ลำห้วยน้ำงาว ในหมู่ที่ 6,126
แหล่งน้ำในเขตหมู่บ้าน/ตำบลเมืองพาน
- ลำห้วยน้ำโมง ในหมู่ที่ 3,6,15
- ลำห้วยน้ำฟ้า ในหมู่ที่ 3,4,5,7,8,9,14
- ลำห้วยน้ำพาน ในหมู่ที่ 1,3,7,8,12
- ลำห้วยนาแมน ในหมู่ที่ 8
- ลำห้วยน้ำอ้อย ในหมู่ที่ 11
- หนองกาลึม, หนองบัวบาน หมู่ที่ 9
- กุดแห่ หมู่ที่ 6, หนองหลวง หมู่ที่ 1
แหล่งน้ำในเขตหมู่บ้าน/ตำบลกลางใหญ่
- ลำห้วยน้ำฟ้า ในหมู่ที่ 1,3,4,6,7,8,9
- ลำห้วยปลาแดก ในหมู่ที่ 1,5,6,10,12
- ลำห้วยอันไหล ในหมู่ที่ 3,6
- ห้วยหินลาด, ห้วยยาง ในหมู่ที่ 4,9
- อ่างเก็บน้ำเขาขาด หมู่ที่ 10, หนองงาน หมู่ที่ 3,7
- หนองแวงใหญ่, หนองแวงน้อย หมู่2
แหล่งน้ำในเขตหมู่บ้าน/ตำบลบ้านค้อ
- ลำห้วยโมง ในหมู่ที่ 1,3,5,6
- ลำห้วยซีด ในหมู่ที่ 2,4
- ลำห้วยชัน ในหมู่ที่ 2,4
- ลำห้วยหินคำ ในหมู่ที่ 1
แหล่งน้ำในเขตหมู่บ้าน/ตำบลโนนทอง
- ลำห้วยซีด ในหมู่ที่ 1,3
- ลำห้วยงาว ในหมู่ที่ 9,10
แหล่งน้ำในเขตหมู่บ้าน/ตำบลหนองหัวคู
- ลำห้วยคู ในหมู่ที่ 3
- ลำห้วยไฮ ในหมู่ที่ 4
- ลำห้วยธง ในหมู่ที่ 1,3,4,9
- ลำห้วยพังพวน ในหมู่ที่ 2,7
- หนองหัวคู ในหมู่ที่ 3
- หนองหญ้าม้า ในหมู่ที่ 6,7
แหล่งน้ำในเขตหมู่บ้าน/ตำบลเขือน้ำ
- ห้วยสวย ในหมู่ที่ 1,5,8,10,11,12,13
- ห้วยยาง ในหมู่ที่ 1,6,9
- ห้วยขี้นาก ในหมู่ที่ 1,9
- ห้วยบ้านงิ้ว ในหมู่ที่ 9
- ห้วยขวาง ในหู่ที่ 10
- ห้วยโศก, ห้วยใหญ่, ห้วยดอกคูณ ในหมู่ที่ 4
- ห้วยอีกาในหมู่ที่ 6,ห้วยบ้านลานในหมู่ที่ 5,ห้วยธง,ห้วยชั้น ในหมู่ที่ 7
- ห้วยน้ำเค็ม ในหมู่ที่ 11, ห้วยอีดำ ในหมู่ที่ 10, ห้วยม่วง ในหมู่ที่ 15
แหล่งน้ำในเขตหมู่บ้าน/ตำบลคำด้วง
- ห้วยด้วง ในหมู่ที่ 1,2
- ห้วยน้ำฟ้า ในหมู่ที่ 1,2,3,7
- ห้วยสระคลองใหญ่ ในหมู่ที่ 3,5, ห้วยสระคลองน้อย ในหมู่ที่ 1,3
- ห้วยถ้ำพระ ในหมู่ที่ 4, ห้วยหิน ในหมู่ที่ 5, ห้วยตาก ในหมู่ที่ 5,9
- ห้วยเม็ก, หนองงาน ในหมู่ที่ 9
- อ่างเก็บน้ำห้วยตะคลองใหญ่ ในหมู่ที่ 3
แหล่งน้ำในเขตหมู่บ้าน/ตำบลคำบง
- ห้วยพังพวน ในหมู่ที่ 5, ห้วยซีด ในหมู่ที่ 6, ห้วยหินเสือ ในหมู่ที่ 8
- ห้วยทับช้าง, ห้วยธง ในหมู่ที่ 9
- หนองเจริญสุข ในหมู่ที่ 2, อ่างเก็บน้ำห้วยเหว ในหมู่ที่ 6
- ฝายบ้าน, ฝายวัด ในหมู่ที่ 1,7, อ่างเก็บน้ำห้วยคำบง ในหมู่ที่ 1
- หนองคึกฤทธิ์ ในหมู่ที่ 8, ห้วยเป้า ในหมู่ที่ 3
แหล่งน้ำในเขตหมู่บ้าน/ตำบลหายโศก
- หนองผักบุ้ง ในหมู่ที่ 16, หนองฝาย ในหมู่ที่ 1, ห้วยโมง ในหมู่ที่ 3
- ห้วยหินในหมู่ที่1,3,5,ห้วยแจ้ง ในหมู่ที่5,15,หนองนกเขียนในหมู่ที่ 7
- ห้วยอีสี ในหมู่ที่ 6,8,14,
- ห้วยมะไฟ ในหมู่ที่ 2,8,9,14
- ห้วยวังแสง ในหมู่ที่ 8,14, ห้วยธาตุ ในหมู่ที่ 10, ห้วยวังอู่ ในหมู่ที่ 8
- ห้วยคุก ในหมู่ที่ 2,9,12,13,17
- อ่างเก็บน้ำพังพวน ในหมู่ที่ 11
แหล่งน้ำในเขตหมู่บ้าน/ตำบลข้าวสาร
- ห้วยงาว ในหมู่ที่ 1,2,3,4,5,6,7,10
- ห้วยยาง,ห้วยซีดในหมู่ที่1,6,ห้วยกุดอินในหมู่ที่2,ห้วยกุดเข็งในหมู่ที่ 3
- หนองกุดม้าในหมู่ที่4,กุดหมากใส,หนองบุงเอื้อน,หนองบู่ตระเพา
- ห้วยทราย หมู่ที่ 5
- ฝายหลวง ในหมู่ที่ 1, สระหลวง ในหมู่ที่ 7
แหล่งน้ำในเขตหมู่บ้าน/ตำบลบ้านผือ
- ห้วยน้ำโมง ในหมู่ที่ 6,7,9,13
- ห้วยซีด ในหมู่ที่ 3,4,5,11, ห้วยชัน ในหมู่ที่ 2,4,12
- ห้วยเสียว ในหมู่ที่ 1,2,3,10, ห้วยงาว ในหมู่ที่ 3,4,5,6,7,11,
- หนองเดิ่น ในหมู่ที่ 13, กุดโศกแวง ในหมู่ที่ 11
แหล่งน้ำในเขตหมู่บ้าน/ตำบลหนองแวง
- ห้วยงาว ในหมู่ที่ 1,3,6,7,8,9
- ห้วยหินลาด ในหมู่ที่ 4, ห้วยชำมะนาว ในหมู่ที่ 1,2
- ห้วยชำจำปา ในหมู่ที่ 3, หนองแวง ในหมู่ที่ 2,6
- อ่างเก็บน้ำหนองแวง ในหมู่ที่ 1, ฝายเก็บน้ำห้วยงาว ในหมู่ที่ 2,3
การเกษตร
ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาซีพเกษตรกรรม มีการทำไร่ ร้อยละ 45.9% ของพื้นที่ทำการเกษตร ได้แยกกิจกรรม ดังนี้
1.มันสำปะหลัง เกษตรกรเริ่มให้ความสนใจนำมันสำปะหลังมาปลูกอีกครั้งหลังจากเลิกปลูกไปนานเพราะราคาดีขึ้นพันธุ์ที่ใช้จะเป็นพันธุ์ส่งเสริมแยกเป็นพันธุ์ระยอง1,2,3 พันธุ์ห้วยบง60 และอื่นๆ 89% และพันธุ์พื้นเมือง 11 %
ฤดูการผลิตและการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง มี 2 ช่วง ช่วงแรกเดือนเมษายน - พฤษภาคม ช่วงที่สอง เดือนตุลาคม - พฤศจิกายน ซึ่งมีจำนวนน้อย การปลูกมันสำปะหลังจะมีการปลูกมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับภาวะการตลาด คือ ราคาดี ในปีถัดไปเกษตรกรจะปลูกมาก
2.อ้อยโรงงาน นับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งในเขตอำเภอบ้านผือ และกำลังจะมีแนวโน้มสูงขึ้นสาเหตุเนื่องมาจากตลาดเป็นตัวแปรในการดึงดูดความสนใจ และเนื่องจากการปลูกพืชชนิดอื่นๆที่ให้ผลผลิตต่อไร่เริ่มลดน้อยลงไป